語言學習泰語學習

【有聲】“戴綠帽子”“吃軟飯”這些中文俗語如何用泰語描述?

本文已影響 4.15K人 

天天學泰語中的俗語,今天來換點新花樣!大家知道像“吃軟飯”“戴綠帽”這種中文裏的俚語,泰語都怎麼表述嗎?今天就來學習5箇中國俚語的泰語表達吧!

ing-bottom: 56.25%;">【有聲】“戴綠帽子”“吃軟飯”這些中文俗語如何用泰語描述?

(泰國電影《ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น 荷爾蒙》劇照)

 

文章帶讀:
(音頻-可在本站泰語公衆號上收聽)
朗讀:(泰)ฟ้าใส

 

ในทุกภาษาและทุกวัฒนธรรม คำที่มีความหมายพื้นๆ บางคำก็อาจมีความหมายด้านลบแฝงอยู่ จะมีก็แต่เจ้าของภาษาเท่านั้นที่รู้ว่าคำๆ นั้นมีความหมายแฝง และภาษาจีนก็เช่นกัน
在每種語言和文化中,詞語都有自己的基本義,有些詞可能還會有隱含的負面意義,只有母語者纔會知道那些詞語的隱含義,中文也是同樣。

คำภาษาจีนต่อไปนี้ ล้วนเป็นคำธรรมดาสามัญ ที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวัน แต่รู้หรือไม่ว่า คำเหล่านี้มีความหมายด้านลบแฝงอยู่ บางคำก็ใช้กันมานาน และมีแปลอยู่ในดิกชันนารี แต่บางคำนี่สิ มีแต่คนจีนเท่านั้นที่รู้ไม่มีระบุในดิกชันนารีด้วย ดังนั้นเราต้องจดจำ และระมัดระวังเวลาใช้กันด้วยล่ะ
下面的一些中文詞彙都有人們日常使用時自己普通的意思,但大家知道嗎,這些詞都有着負面的隱含意義,有一些已經沿用很久,在字典中都發生了改變,而有一些詞只有中國人才知道,並沒有在字典中出現。所以,學習中文的人就一定要記下來,使用的時候就要小心。

 

1.戴綠帽子 สวมหมวกสีเขียว——สวมเขา

【有聲】“戴綠帽子”“吃軟飯”這些中文俗語如何用泰語描述? 第2張

(女神Aump與Hi-So前任)

ตอนไปเที่ยวประเทศจีน เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมคนจีนถึงไม่สวมหมวกสีเขียว เอาเป็นว่า ถึงจะสงสัยแค่ไหน ก็อย่าได้เอ่ยปากถามคนจีนแล้วกันว่าทำไมถึงไม่“สวมหมวกสีเขียว” ก็เพราะในวัฒนธรรมจีน สวมหมวกสีเขียวมีความหมายแง่ลบว่า คนผู้นั้นถูกสวมเขา!!!
去中國旅行的時候,大家有疑惑過嗎,爲什麼中國人都不戴綠色的帽子?可是,不管有多疑惑,都不要開口去問中國人爲什麼不戴“綠帽子”,因爲在中國文化中,帶綠帽子的消極含義是:那個人被老婆背叛了!!!

ที่มาของคำเริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง(Ming Dynasty)ฮ่องเต้จูหยวนจาง(Zhu Yuanzhang)ได้ออกกฏหมายให้ชายที่ทำงานในหอนางโลมทุกคนสวมหมวกสีเขียว หลังจากนั้นคำนี้ก็ถูกนำมาใช้พูดถึงผู้ชายที่ถูกภรรยาสวมเขา ซึ่งก็คือถูกภรรยาสวมหมวกสีเขียวให้นั่นเอง อย่าลืมนะ ไม่เอาหมวกสีเขียว
這個詞的意思開始於明朝朱元璋時期,那時頒佈了一項法律,讓在青樓工作的男人都戴上綠色的帽子,從那之後這個詞就被用來形容被老婆背叛的男人,也就是被老婆戴了綠帽子。千萬不要忘了,綠帽子噠咩!

 

2.吃軟飯 กินข้าวนิ่ม——ชอบเกาะผู้หญิงกิน

【有聲】“戴綠帽子”“吃軟飯”這些中文俗語如何用泰語描述? 第3張

Tongtong前段時間被前準岳父手撕,爆其吃軟飯等等各種劣跡。可戳這邊回顧:深宅茶盞塌房!奧運冠軍岳父手撕渣男準女婿!家暴+劈腿+睡粉,電費都不交?!!

ไม่มีใครชอบกินข้าวแข็งเพราะมันไม่สุก แต่ถ้าเราเป็นผู้ชาย ห้ามพูดว่า “ชอบกินข้าวนิ่ม”เป็นอันขาด เพราะมันมีความหมายแฝงในแง่ลบว่า “ชอบเกาะผู้หญิงกิน”น่ะสิ ในทุกๆ วัฒนธรรม ผู้ชายควรเป็นผู้นำครอบครัว แต่ถ้าบ้านไหน ผู้หญิงเป็นผู้นำ ก็บอกได้เลยว่าชายคนนั้น “ชอบกินข้าวนิ่ม”ใช้ได้กับทุกรุ่นทุกความสัมพันธ์ เป็นแค่แฟนกันก็ใช้ได้ แน่นอนว่าคำนี้ถือเป็นการดูถูกกันอย่างใหญ่หลวงเลยล่ะ
沒有人喜歡吃硬硬的飯,因爲那還沒有熟,但如果我們是男人的話,絕對不能說“喜歡吃軟飯”哦,因爲這個詞的消極含義是“攀附女人生活”。在每一種文化中,男人應該都是家庭的領導者,但如果那個家庭中女人是領導者,就可以說那家的男人是在“吃軟飯”了。這個詞在各個年齡階層各種關係中都可以使用,在情侶之間也可以用,而且這個詞百分百是表達蔑視的。

 

3.小姐 คุณผู้หญิง——โสเภณี

【有聲】“戴綠帽子”“吃軟飯”這些中文俗語如何用泰語描述? 第4張

(《กรงกรรม 罪孽牢籠》中,Bella飾演一名北欖坡的妓女)

อะไรหว่า เรียกผู้หญิงคนนึงว่า "คุณผู้หญิง" มันไม่ดีตรงไหน...
什麼鬼,叫人家女生“小姐”有什麼不好嗎...

ปกติแล้วถ้าเรียกผู้หญิงคนนึงด้วยคำนี้แต่มีชื่อสกุลนำหน้า เช่น 劉小姐 แบบนี้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าดันไปเรียกผู้หญิงคนนึงที่ไม่รู้จักว่า 小姐 ล่ะก็ เธอคนนั้นคงโกรธเราไม่น้อย เพราะความหมายแฝงของคำนี้หมายถึงหญิงที่ทำงาน "เป็นโสเภณี"
平時如果我們在女生的姓氏後面加一個小姐,比如劉小姐,這樣是沒有問題的,但如果我們稱呼一個不認識的女人爲小姐,那麼那個女人應該會生不小的氣。因爲這個詞的隱藏含義是當“性工作者”的女人。

อ้าว! แล้วเวลาไปร้านอาหาร เราจะเรียกพนักงานเสิร์ฟว่ายังไงดีล่ะ เอาแบบปลอดภัยไว้ก่อนเลยนะ เรียกว่า 服務員 เลยดีกว่า
啊?!那我們去餐廳的時候要怎麼稱呼服務員呢?用一個比較安全的說法,直接叫服務員就好了。

สิ่งที่เราควรรู้อีกอย่างคือ ทางตอนเหนือของจีน แถวๆ ปักกิ่งหรือฮาร์บิน สาวๆ จะซีเรียสมากถ้าถูกเรียกว่า 小姐 แต่ถ้าค่อนมาทางใต้ อย่างเซี่ยงไฮ้หรือกวางเจา พวกเธอรู้ว่าคำนี้มีความหมายแฝงว่าอะไร แต่ถ้าบังเอิญถูกชาวต่างชาติเรียกเช่นนั้น ก็ไม่ซีเรียสนัก ทางที่ดีเลี่ยงคำนี้ดีกว่า
我們應該知道的另一個知識點是,在中國的北方,比如北京或者哈爾濱地區,女生們對於被稱呼爲“小姐”是比較嚴肅的。但如果是南方,比如上海或者廣州,女孩們知道這個詞的意思但如果是外國人偶然這樣叫的話,她們也不會很嚴肅,不過最好還是避免使用這個詞。

 

4.飛機場 สนามบิน——หน้าอกแบบยังกับสนามบิน

【有聲】“戴綠帽子”“吃軟飯”這些中文俗語如何用泰語描述? 第5張

(《เล่ห์ลับสลับร่าง 換錯身愛對人》中Yaya變成了男兒身)

อะไร ยังไง!? สนามบินมันทำไมหรอ
什麼?!飛機場又怎麼了?

คำนี้เพิ่งจะถูกบัญญัติความหมายแฝงได้ไม่นาน อาจจะสัก 15-20 ปีนี้เอง หลังจากที่จีนเริ่มเปิดประเทศในปี 1978 และคนจีนได้เข้าไปอยู่ในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ดมากขึ้น ก็มีชายจีนคนนึง (ซึ่งไม่รู้ว่าใคร) กล่าวว่า "เทียบกับสาวตะวันตกแล้ว ผู้หญิงจีนเนี่ย หน้าอกแบบยังกับสนามบิน"
這個詞的引申義大概是近15-20年才被記錄下來的,1978年中國開始對外開放,越來越多中國人走進了好萊塢的舞臺,那時就有一箇中國男人(不知道是誰)說:“和西方女孩子比起來,中國女孩子的胸口就像飛機場一樣。”

ต่อไปนี้ถ้าเราได้ยินคนจีนพูดว่า "ยัยคนนั้นสนามบินชัดๆ " ก็คงไม่งงกันแล้วสินะ
以後如果我們聽到中國人說“那個人是飛機場”,應該就不會感到疑惑了。

 

5.恐龍和青蛙 ไดโนเสาร์และกบ——หญิงอัปลักษณ์ที่เจอทางอินเทอร์เน็ต ชายอัปลักษณ์ที่เจอทางอินเทอร์เน็ต

【有聲】“戴綠帽子”“吃軟飯”這些中文俗語如何用泰語描述? 第6張

คำนี้เริ่มมีความหมายแฝงแง่ลบในยุคที่โซเซียลเน็ตเวร์คมาแรง วัยรุ่นชอบหาเพื่อนผ่านอินเทอร์เน็ต บางคนก็เป็นเพื่อนกันแค่ในโลกออนไลน์ แต่บางคนก็หักห้ามใจไม่ได้จนต้องมาเจอกันใน "โลกแห่งความจริง" การที่คนเราอยากมาเจอกันทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นั่นแปลว่า ต่างฝ่ายคงคิดว่าอีกฝ่ายน่าดึงดูดไม่น้อย แต่บางครั้งจินตนาการก็ต่างจากความจริงไม่น้อยเช่นกัน
這詞的消極含義是伴隨着網絡世界的發達而到來的,年輕人們喜歡在互聯網上找朋友,有些人僅僅是網友的關係,但有人卻抑制不了躁動的心,選擇與網友在“現實世界”相遇。這些人想要和素未謀面的人見面,就表示他們都覺得對方十分具有吸引力,但有些時候,現實和理想總會有些出入。

ชายคนหนึ่งจินตนาการผ่านจอว่าหญิงคนที่คุยด้วยต้องสวยมาก แต่พอมาเจอกัน ต่างฝ่ายต่างช็อคกับความจริง จนพูดได้ว่า "ช็อคเหมือนเจอไดโนเสาร์"
某個男生通過屏幕想象自己正在聊天的女生肯定很漂亮,但見了面之後雙方都覺得很詫異,所以就有了“好像看見了恐龍”一樣的說法。

ดังนั้นความหมายแฝงของ "ไดโนเสาร์"ก็คือ "หญิงอัปลักษณ์ที่เจอทางอินเทอร์เน็ต" และ"กบ"ก็คือ "ชายอัปลักษณ์ที่เจอทางอินเทอร์เน็ต" นั่นเอง
因此,“恐龍”的隱藏含義就是“通過網聊認識的不好看的女生”,“青蛙”就是“通過網聊認識的不好看的男生”。

ยกตัวอย่างแค่ 5 คำ ก็ทำให้เรารู้แล้วว่าเวลาเรียนภาษาใหม่ๆ ไม่ควรท่องเที่ยวแค่คำศัพท์กับแกรมม่า เพราะทุกภาษาล้วนมีคำที่มีความหมายแฝงเรียนรู้รอบด้าน นำมาใช้ จะได้ไม่ใช้ผิดกันเนอะ
僅僅是這五個詞語,就讓大家知道當我們在學習一門新的語言時,不應該只是按照語法來學習單詞,因爲每門語言都有非常多值得學習的引申義,我們將其學以致用,就不會出錯了。

有的時候這樣反向學習泰語也會有不錯的效果哦~

聲明:本文由本站泰語編譯整理,素材來自saynihao,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。

猜你喜歡

熱點閱讀

最新文章